Last updated: 19 ก.ค. 2565 | 5365 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคพิษสุนัขบ้า หรือที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า เรียก "โรคกลัวน้ำ" (Hydrophobia) ส่วนในภาษาอีสานเรียก "โรคหมาว้อ" นั้น เป็นโรคติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลางที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต พบเกิดในสัตว์ เลือดอุ่นทุกชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าและยังติดต่อมาสู่มนุษย์ พาหะนำโรคที่สำคัญที่สุดสู่มนุษย์ และสัตว์อื่นๆ คือ สุนัข รองลงมาคือแมว พาหะนำเชื้อที่สำคัญในบ้านเราคือ สุนัขและแมว ส่วนในต่างประเทศมักเกิดจากสัตว์ป่ากินเนื้อต่างๆ เช่น สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า Jaguar, Raccon, Skunk เป็นต้น และสำหรับในแถบประเทศละตินอเมริกานั้น ยังพบพาหะที่สำคัญคือ ค้างคาวดูดเลือด (Vampire bat)
สาเหตุและการติดต่อ
เกิดจากเรบี่สไวรัส (Rabies virus) ซึ่งเป็น อาร์ เอน เอ ไวรัส (RNA virus) อยู่ในจีนัส Lyssavirus แฟมิลี Rhabdoviridae การติดเชื้อที่สำคัญที่สุดคือการถูกสัตว์เป็นบ้ากัด เชื้อพิษสุนัขบ้าที่อยู่ในน้ำลายจะเข้าสู่บาดแผลและผ่านเข้าสู่เส้นประสาทส่วนปลาย ไขสันหลัง และเข้าสู่สมองมีการแบ่งตัวในสมองและปล่อยเชื้อไวรัสไปตามแขนงประสาทที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมทั้งต่อมน้ำลาย เชื้อไวรัสโรค พิษสุนัขบ้าสามารถเพิ่มจำนวนในเซลล์ของต่อมน้ำลาย ซึ่งจะเป็นช่วงที่สัตว์แสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น นอกจากนั้นเชื้ออาจติดต่อจากการกินได้ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากและหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์กินเนื้อตัวป่วย หรือที่ตายใหม่ๆ เข้าไป
อาการ
สัตว์ที่ไดรับเชื้อจะแสดงอาการภายใน 14-90 วัน หรืออาจนานกว่านี้โดยเฉลี่ยประมาณ 21 วัน อาการของสัตว์แต่ละตัวจะแตกต่างกันมาก แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบดุร้าย (furious form) และแบบซึม (dumb or paralytic form) แบบดุร้าย สัตว์จะแสดงอาการเบื่ออาหาร อุปนิสัยเปลี่ยนไป บางรายชอบกินดินหินเป็นต้น ในโครีดนมน้ำนมจะลดลง แสดงอาการตื่นเต้น ร้อง หาว ดุร้าย วิ่งชนคน หรือสิ่งกีดขวาง แสดงอาการกลืนลำบาก (ทำให้เรียกว่าโรคกลัวน้ำ) มีน้ำลายไหลมาก แสดงอาการไวต่อแสงและเสียงอย่างมาก เมื่อโรคดำเนินต่อไปถึงขั้นสมองอักเสบ สัตว์จะแสดงอาการอัมพาต ล้มลงนอน ชัก และตายในที่สุด ซึ่งอยู่ในราว 2-7 วันนับแต่เริ่มแสดงอาการ แบบซึม สัตว์จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนสังเกตไม่เห็น อาการจะเข้าระยะอัมพาตอย่างรวดเร็ว ซึม มีน้ำลายไหลมาก กล้ามเนื้อขาไม่สัมพันธ์กัน ล้มลงนอน ชักหายใจไม่ออกและตายในที่สุด อาการที่อาจพบได้อีกคือ ขนลุก กล้ามเนื้อสั่น กระตุก เช่น ที่ใบหน้า ใบหูบิด เคี้ยวฟัน หางบิดไปด้านข้าง มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อลำคอทำให้กลืนลำบาก มีการไอคล้ายมี สิ่งแปลกปลอมติดคอ ร้องเสียงแหบต่ำ บางรายมีอาการคล้ายกำลังเป็นสัด การถ่ายเหลว จะพบในช่วงแรก และตามด้วยการถ่ายลำบากและท้องอืด
การตรวจวินิจฉัย
โรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์ดูจากอาการในระยะแรกๆ นั้นทำได้ไม่ง่ายนักเนื่องจากอาการต่างๆ ปรากฏไม่ชัดเจน และบางครั้งโรคบางโรคมีอาการคล้ายคลึงกับที่พบในโรคพิษสุนัขบ้า เช่น อซีโตนีเมีย (Acetonemia) ไฮโปแมกซีเมีย (Hypomagnesemia) โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง อาการระหว่างเป็นสัดทั้งในเพศผู้และเพศเมีย สิ่งแปลกปลอมภายในช่องปากและลำคอ การขาดวิตามินเอ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการเป็นโรคนี้โดยตรวจหาเชื้อจากสมองสัตว์ตามวิธีการต่างๆ
การรักษา
การใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเชื้อตายฉีดให้แก่สัตว์ใหญ่ภายหลังถูกสุนัขบ้ากัดนั้นยังได้ผลไม่แน่นอน แม้จะมีข้อบ่งใช้ในสัตว์ใหญ่ของวัคซีนหลายชนิดก็ตาม ทั้งนี้อาจเพราะสัตว์ได้รับวัคซีนช้าเกินไป ขนาดและโปรแกรมวัคซีนไม่เหมาะสม บาดแผลลึกและอยู่บริเวณในหน้า เป็นลูกสัตว์หรือสุขภาพไม่แข็งแรง หรือขึ้นกับชนิดของสัตว์ที่รับเชื้อ เช่น มีความไวต่อโรคพิษสุนัขบ้า มากกว่าสุนัขเป็นต้น สำหรับการใช้แอนติเรบี่ส ซีรั่ม (Antirabies serum) ฉีดภายหลังถูกกัดนั้น แม้ว่าจะได้ผลดีกว่าแต่ก็มีราคาแพงและหาได้ยากจึงไม่นิยมกระทำกัน ยกเว้นในรายที่สัตว์มีราคาแพงเท่านั้น อย่างไรก็ตามในบ้านเราได้มีความพยายามนำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเชื้อตายที่ใช้ในสัตว์เลี้ยงมาฉีดให้แก่โคภายหลังสัมผัสโรคด้วยขนาดและวิธีการต่างๆ กัน เช่น
• ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งละ 1 มิลลิลิตร จำนวน 4 ครั้ง ทุกๆ 2 วัน เช่นเดียวกับในสุนัข
• ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 3 วัน ในขนาด 2, 1, 1, 1 มิลลิลิตร ตามลำดับ
• หรือวิธีการอื่นๆ ตามแต่ประสบการณ์และเทคนิคของแต่ละคนซึ่งผลการรักษาโดยวิธีเหล่านี้ยังไม่แน่นอนเพราะปัจจัยต่างๆ
การควบคุมและป้องกัน
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือระวังอย่าให้ถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อจะมาจากน้ำลายสัตว์ที่เป็นบ้าเป็นส่วนใหญ่ การป้องกันโดยการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เช่นที่ทำในสุนัขและแมวนั้นคงกระทำได้ยาก ยกเว้นกรณีอยู่ในบริเวณที่มีโรคระบาดชุกชุม หรือมีโคป่วยด้วยโรคนี้อยู่ในฝูง
• ถ้าสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าไว้ก่อนแล้วและถูกสุนัขบ้ากัดในภายหลังให้รีบฉีดวัคซีนซ้ำในทันทีและ
สังเกตอาการนาน 90 วัน
• ถ้าสัตว์ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนและถูกสุนัขบ้ากัด ควรทำลายสัตว์นั้นทันทีแต่ถ้าไม่ทำลายต้อง
สังเกตอาการนาน 180 วัน
• สำหรับซากสัตว์ที่ทำลายนั้นจะนำมาบริโภคได้หรือไม่ให้พิจารณาดังนี้
ถ้าสัตว์นั้นถูกสุนัขบ้ากัดไม่เกิน 7 วัน สามารถนำเนื้อส่วนอื่นๆ มาบริโภคได้ยกเว้นบริเวณที่ถูกกัดให้ตัดทำลาย อย่างไรก็
ตามเนื้อสัตว์หรือน้ำนมสัตว์ที่จะนำมาบริโภคจะต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเสียก่อน
#ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย #yorkshireterrier #ยอร์ค #ยอร์คเชียร์ #เทอร์เรีย #ลูกยอร์ค #ลูกยอร์คเชียร์ #ทีคัพ #teacup #tcup #yorkshire #terrier #yorkie #ขายยอร์คเชียร์ #โรงพยาบาลสุนัขใกล้ฉัน
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560