Last updated: 19 ก.ค. 2565 | 4768 จำนวนผู้เข้าชม |
หินปูนหรือหินน้ำลาย เกิดขึ้นได้โดยเริ่มจากการมีการสะสม ของจุลินทรีย์เนื่องจากมลภาวะในช่องปาก โดยจะเกิดได้เร็ว และง่ายขึ้น หากปราศจากการดูแลรักษาความสะอาด ในช่องปากและฟัน ก่อให้เกิดเป็นคราบฟัน (Pluque) ที่ผิวเคลือบฟันบนตัวฟันและร่องเหงือก ลักษณะคล้ายฟิล์มบางๆนิ่มๆประกอบไปด้วย gelatinous mass ของแบคทีเรียในช่องปาก
แบคทีเรียโพลีแซคคาไรด์ โปรตีนในน้ำลาย และเซลล์ที่หลุดลอก (debris) ต่างๆ โดยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งที่บริเวณเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นจะแผ่ขยายคลุมไปทั่วพื้นผิวฟัน จากนั้นจะเกิดปฏิกิริยากับน้ำลายก่อให้เกิด
การสะสมแร่ธาตุกลายมาเป็นหินปูนหรือหินน้ำลาย พบได้บ่อยที่ฟันกรามน้อยด้านบน เนื่องจากอยู่ใกล้เคียงทางเปิดของท่อน้ำลาย
สาเหตุ
• Overcrowed and rotated teeth ซึ่งพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น
• Retained temporary teeth ทำให้หินปูนเกิดขึ้นระหว่างซอกฟันแท้กับฟันน้ำนม
• อาหาร ซึ่งเกิดจากการไม่ดูแลความสะอาดหลังกินอาหารรวมถึง ลักษณะของอาหารพบว่าการกินอาหารอ่อน ก่อให้เกิดหินปูนได้เร็วกว่า การกินอาหารเม็ด
• Malocclusion หรือการสบฟันผิดปกติ
• ปริมาณและคุณลักษณะของน้ำลาย
• การอักเสบระคายเคืองทำให้เกิดการติดเชื้อและมลภาวะในช่องปาก
อาการ
ในระยะต้นจะไม่สามารถสังเกตพบอาการได้อาจพบว่ามีกลิ่นปากผิดปกติไป ขอบเหงือกอักเสบบวมแดง มีเลือดออก ตามไรฟัน มีคราบฟันและหินปูนเกิดขึ้น หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาดูแล ก็จะกลายเป็นปัญหาโรคปริทันต์ตามมา หากอาการรุนแรงทำให้ฟันโยกหรือหลุดไป เกิดการอักเสบติดเชื้อในช่องปาก เช่น ในโพรงฟัน เบ้าฟัน กระดูกกราม และเนื้อเยื่อบริเวณศีรษะ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาอื่นต่อร่างกาย อันเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เข่น โรคไตและโรคลิ้นหัวใจอักเสบ
การควบคุม ป้องกัน และการรักษา
การควบคุมและป้องกันการเกิดหินปูนหรือหินน้ำลายทำได้ โดยการดูแลรักษาความสะอาดอย่างง่าย โดยที่เจ้าของสามารถทำเองได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การแปรงฟัน การจัดการดูแลเกี่ยวกับอาหารและอาหารขัดฟัน การดูแลให้มี สุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปลอดจากโรค ความใกล้ชิด การสังเกตถึงปัญหาและความผิดปกติอย่างเป็นนิสัย และพาสัตว์เลี้ยงไปรับการตรวจสุขภาพจากสัตวแพทย์เป็นประจำ การรักษาทำได้โดยการขูดหินปูนหรือหินน้ำลาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อกำจัดหินปูนทำความสะอาดช่องปากโดยละเอียด ตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก เพื่อวางแนวทางและให้คำแนะนำ ในการป้องกันดูแลสุขภาพฟันแก่เจ้าของสุนัขต่อไป
#ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย #yorkshireterrier #ยอร์ค #ยอร์คเชียร์ #เทอร์เรีย #ลูกยอร์ค #ลูกยอร์คเชียร์ #ทีคัพ #teacup #tcup #yorkshire #terrier #yorkie #ขายยอร์คเชียร์ #โรงพยาบาลสุนัขใกล้ฉัน
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560
3 ก.ย. 2560