โรคหลอดลมตีบ

Last updated: 19 ก.ค. 2565  |  110309 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคหลอดลมตีบ

               หลอดลม หรือ Trachea เป็นอวัยวะสำคัญที่นำอากาศจากคอเข้าไปสู่ปอด หลอดลมประกอบด้วยกระดูกอ่อนรูปตัว C ประมาณ 35-45 ชิ้นมาประกอบเชื่อมกันด้วยกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมาเป็นรูปร่างคล้ายๆหลอด
               เมื่อกระดูกอ่อนรูปตัว C นั้นเกิดยุบตัวลงมา เราจะเรียกอาการนี้ว่า Collspsing trachea ส่วนใหญ่การที่หลอดลมฟีบแบนลงมานั้นเกิดจากการหายใจเอาอากาศเข้าอย่างรวดเร็ว เมื่อหลอดลมยุบตัวลง ก็จะทำให้การหายใจนำอากาศเข้าสู่ปอดเป็นได้ได้ด้วยความยากลำบาก

Collapsing Trachea เกิดขึ้นได้อย่างไร
               จากการศึกษาที่มาของโรคหลอดลมยุบตัวนั้น ทางแพทย์ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เป็นที่ทราบกันว่า สุนัขที่เป็นโรคนี้มีความผิดปกติทางด้านเคมีในการสร้างหลอดลมขึ้นมา เมื่อกระดูกอ่อนรูปตัว C มีความแข็งแรงไม่เพียงพอ หลอดลมจึงไม่สามารถมีรูปร่างที่ถูกต้องได้ โรคหลอดลมยุบตัวเป็นโรคที่มักจะพบในสุนัขหลายๆพันธ์เช่น ชิวาว่า ปอมเมอเรเนี่ยน ชิสุห์ ลาซ่าแอปโซ่ พูเดิ้ล และยอร์คเชียร์ เทอร์เรีย ดังนั้น ด้วยความที่โรคนี้มักเกิดกับสุนัขพันธ์ดังกล่าว จึงมีคนตั้งข้อสงสัยว่า โรคนี้อาจจะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอีกโรคหนึ่ง (แต่ตรงนี้ ขอ note ไว้นิดนึง ว่ายังไม่มีหลักฐานการพิสูจน์ว่าโรคหลอดลมยุบตัวเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้น ในสัญญาการซื้อขายของ breeder บางราย ก็อาจจะไม่รวมโรคนี้ใน Health guarantee ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร)

ลักษณะอาการเป็นอย่างไร
               ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่า ลักษณะของการหายใจติดขัดมีอยู่ 2 แบบด้วยกันและมีอาการที่คล้ายกันมาก คือ Collapsing Tranchea (หลอดลมยุบตัว) และ Reverse Sneezing (ลักษณะคล้ายๆการจาม แต่เป็นการจามแบบเอาอากาศเข้าไป แทนที่จะเป็นการจามปกติที่เอาอากาศออก) ความแตกต่างระหว่าง Collapsing Trachea กับ Reverse Sneezing ก็คือ

               Reverse Sneezing เกิดจากการหดเกร็งกล้ามเนื้อของคอหอย (Pharynx) เวลาสุนัขจะหายใจเข้า แล้วเกิดการหดเกร็งของคอหอย ก็ทำให้อากาศถูกกักอยู่ด้านใน สังเกตดูจะเห็นว่าสุนัขพยายามยืดคอและพยายามผลักส่วนข้อศอกออก พร้อมๆกับเสียงฮืดฮาด และเป่าลมออกจากทางจมูก การหดเกร็งของคอหอยจะดีขึ้นหากสุนัขได้กลืนน้ำลายสัก 2-3 ที นอกจากนี้ หากมีอาการ Reverse sneezing เราสามารถช่วยได้โดย
                      • เอานิ้วปิดไปที่รูจมูกของสุนัข เพื่อที่สุนัขจะได้หายใจทางปากสัก 2-3 วินาที
                      • ลูบคอของสุนัขด้วยความนิ่มนวล อาจจะพอช่วยได้บ้าง
                      • อุ้มสุนัขออกไปหาอากาศสดชื่นข้างนอก
                      • ลูกสุนัขสามารถที่จะมีอาการ Reverse sneezing ได้ แต่ส่วนใหญ่ Reverse sneezing มักจะเกิดกับสุนัขที่เริ่มเข้าสู่วัยหนุ่มสาว หากสังเกตเห็นสุนัขมีอาการ Reverse sneezing ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะไม่มีอันตรายใดๆต่อสุนัข อาการนี้จะเป็นอยู่แค่ไม่กี่วินาทีถึง 1 นาทีแล้วก็จะหายเป็นปกติเอง ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอหรือรักษาเยียวยา Reverse sneezing เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆกับสุนัขในกลุ่ม Toy

               ความแตกต่างระหว่าง Reverse sneezing กับ Collapsing trachea นอกจากจะมาจากอวัยวะที่ต่างกันแล้วเราสามารถสังเกตได้จากเสียง หากเป็นเสียง ฮืด ฮืด ฮืด ก็คือ Reverse sneezing แต่ถ้าสังเกตว่าสุนัขมีการหายใจทางปาก หรือเวลาหายใจมักจะมีเสียงแหบๆ หรือมีอาการไอเมื่อเราลองลูบคอสุนัข ก็อาจเป็นไปได้ว่าสุนัขนั้นเป็นโรคหลอดลมยุบตัว หรือ Collapsing trachea

               อาการส่วนใหญ่ที่เป็นอาการของ Collapsing trachea ก็คือการไอเรื้อรัง การไอจะเป็นเหมือนการไอแบบแห้งๆ และส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน การไออาจจะเกิดจากความตื่นเต้น หรือมีแรงกดที่หลอดลม (ซึ่งมาจากการใส่ปลอกคอและสายจูง) หรืออาจจะเกิดจากการดื่มน้ำหรือการทานอาหาร
               
การตรวจดูว่าสุนัขเป็นโรคหลอดลมยุบตัวหรือไม่
               วิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือลองกดเบาๆตรงหลอดลม ถ้าสุนัขมีอาการไอแห้ง ก็อาจจะตั้งข้อสงสัยได้ว่ามีแนวโน้มของโรคนี้ นอกจากนี้การ x-rays หน้าอก ก็จะช่วยให้เห็นรูปร่างของหลอดลมได้ชัดเจนขึ้นส่วนใหญ่หลอดลมจะยุบตัวเมื่อมีการหายใจเข้า และหลอดลมจะดูเป็นปกติเมื่อมีการหายใจออก ดังนั้นการตรวจจะต้องดูลักษณะของหลอดลมทั้งในช่วงหายใจเข้าและหายใจออก
               นอกจากนี้แพทย์ยังอาจจะใช้วิธี Endoscopy เป็นการสอดท่อเล็กๆลงไปในหลอดลม เพื่อดูลักษณะของหลอดลมทั้งในช่วงหายใจเข้าและหายใจออก อย่างก็ตามวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

แนวทางการรักษา
               สำหรับโรคหลอดลมยุบตัวจะมีการรักษาทั้งแบบทานยา หรือการผ่าตัด ถ้าอาการไม่มาก ก้อาจจะเป็นการให้ทานยาขยายหลอดลม ให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดอาการติดเชื้อที่หลอดลม สำหรับสุนัขที่อ้วน การลดน้ำหนักก็จะช่วยได้เยอะ นอกจากนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะทำให้สุนัขตื่นเต้น หรือการที่จะให้สุนัขต้องออกกำลังกายที่มากจนเกินไป
สำหรับการผ่าตัด ถ้าความผิดปกติของหลอดลมอยู่มนส่วนระหว่างคอถึงช่องอก การผ่าตัดจะรักษาอาการนี้ได้ แต่ถ้าความผิดปกติของหลอดลมอยู่ภายในช่องอก การผ่าตัดก็จะช่วยอะไรไม่ได้ เพราะจะเป็นจุดที่ผ่าเข้าไปได้ยาก หรือผ่าเข้าไปไม่ได้เลย

วิธีการรักษา บรรเทาอาการโรคหลอดลมยุบตัวของยอร์ค ด้วยวิธีทางธรรมชาติ
       • ให้อาหารที่ดี และหาอาหารที่จะไม่ทำให้อ้วน
       • ให้วิตะมิน C และ E
       • ให้ออกกำลังกายได้บ้างแต่ไม่ควรให้ออกกำลังกายหนักเกินไป
       • ให้เปลี่ยนจากใส่สายจูงที่คอ มาเป็นสายรัดอกเพื่อที่ปลอกคอจะไม่ไปกดที่หลอดลม
       • อย่าไปลูบหรือไปกดคอของสุนัข
       • ให้กลูโคซามีน (Glucosamine) เสริม เพื่อช่วยให้กระดูกอ่อนแข็งแรงและช่วยซ่อมแซมความเสียหายของเนื้อเยื่อที่เชื่อม
          ต่อกัน กลูโคซามีนเป็นสารอาหารธรรมชาติ ไม่มี Side effects กับสุนัข ถ้าสุนัขมีอาการของโรคนี้ อาจจะลองให้กลูโคซามีน
          เสริมให้สุนัขอยู่ในที่ที่มีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งจนเกินไปจะช่วยให้สุนัขหายใจได้ง่ายขึ้น

#ยอร์คเชียร์เทอร์เรีย #yorkshireterrier #ยอร์ค #ยอร์คเชียร์ #เทอร์เรีย #ลูกยอร์ค #ลูกยอร์คเชียร์ #ทีคัพ #teacup #tcup #yorkshire #terrier #yorkie #ขายยอร์คเชียร์ #โรงพยาบาลสุนัขใกล้ฉัน


Powered by MakeWebEasy.com